งานวิจัยเรื่องการกลับชาติมาเกิด ของ เอียน สตีเวนสัน

ความสนใจเบื้องต้น

สตีเวนสันได้ระบุความสนใจตลอดอาชีพของเขาว่า ทำไมคนหนึ่งจึงเกิดโรคอย่างหนึ่ง แต่อีกคนหนึ่งกลับได้โรคต่างกัน[16]เขาได้กลายมาเชื่อว่า ทั้งสิ่งแวดล้อมและกรรมพันธุ์ไม่สามารถอธิบายความกลัว ความเจ็บป่วย และความสามารถพิเศษบางอย่าง และว่า การถ่ายโอนบุคลิกภาพหรือความจำบางประการอาจให้คำอธิบายที่สามได้แต่ก็ยอมรับว่า ไม่มีหลักฐานทางกระบวนการฟิสิกส์ที่บุคลิกภาพสามารถรอดการเสียชีวิตแล้วถ่ายโอนไปยังอีกร่างหนึ่ง และเขาก็ระมัดระวังไม่ทุ่มตัวอย่างบริบูรณ์ไปที่จุดยืนว่า การกลับชาติมาเกิดใหม่มีจริง ๆ[18]เขาเพียงแต่ให้เหตุผลว่า ตามความคิดของเขา กรณีงานศึกษาของเขาไม่สามารถอธิบายได้ด้วยสิ่งแวดล้อมหรือพันธุกรรม และว่า "การกลับชาติมาเกิดใหม่เป็นคำอธิบายที่ดีสุดสำหรับกรณีที่ชัดเจนกว่าที่เราตรวจสอบ แม้จะไม่ใช่คำอธิบายเดียว"[19]จุดยืนของเขาไม่เกี่ยวกับศาสนา แต่เป็นสิ่งที่ศาสตราจารย์กิตติคุณทางปรัชญาที่มหาวิทยาลัยจอร์เจียสเตตคือรอเบิร์ต อัลมีเดอร์ เรียกว่า สมมติฐานการกลับชาติมาเกิดแบบน้อยสุด (minimalistic reincarnation hypothesis)อัลมีเดอร์ระบุสมมติฐานนี้ว่า

มีอะไรที่เป็นแก่นของบุคลิกภาพมนุษย์บางอย่าง ซึ่งเราไม่สามารถวิเคราะห์เป็นเพียงแต่เป็นสภาพสมอง หรือลักษณะของสภาพสมอง อนึ่ง หลังจากการตายทางชีวภาพ ลักษณะเป็นแก่นที่ลดทอนไม่ได้นี้บางครั้งคงยืนต่อไปชั่วระยะหนึ่งโดยกระบวนการบางอย่าง ในที่บางที่ และเพราะเหตุผลใดเหตุผลหนึ่ง มีอย่างเป็นอิสระจากสมองและร่างกายของบุคคลเดิม นอกจากนั้น หลังจากช่วงระยะหนึ่ง ลักษณะเป็นแก่นของบุคลิกภาพมนุษย์ที่ลดทอนไม่ได้นี้บางอย่าง เพราะเหตุผลอย่างใดอย่างหนึ่ง และโดยกลไกอย่างหนึ่ง ได้มาอยู่ในร่างกายมนุษย์อื่น ๆ ไม่ว่าจะหลังจากช่วงตั้งครรภ์ระยะหนึ่ง หรือเมื่อเกิด หรือหลังจากเกิดไม่นาน[upper-alpha 2]

ในปี 1958 และ 1959 สตีเวนสันได้เขียนบทความหลายบทให้กับนิตยสาร Harper's เกี่ยวกับปรจิตวิทยา (การศึกษาปรากฏการณ์ทางจิตที่อธิบายไม่ได้) รวมทั้งโรคกายเหตุใจ และการรับรู้นอกเหนือประสาทสัมผัส (extrasensory perception หรือ ESP) และในปี 1958 เขาได้ส่งประกวดบทความที่ชนะรางวัลของ American Society for Psychical Research[upper-alpha 3]ซึ่งให้เป็นอนุสรณ์แด่นักจิตวิทยาวิลเลียม เจมส์ (1842-1910)โดยได้รางวัลเรียงความดีสุดในเรื่อง "ปรากฏการณ์ทางจิตเหนือธรรมชาติและความสัมพันธ์กับปัญหาเรื่องการดำรงอยู่ของบุคลิกภาพมนุษย์หลังจากร่างกายตาย"เรียงความของสตีเวนสันคือ The Evidence for Survival from Claimed Memories of Former Incarnations (หลักฐานสนับสนุนการอยู่รอดของความจำจากชาติที่แล้วดังอ้าง) ในปี 1960 ได้ทบทวนกรณีบุคคลที่ตีพิมพ์ 44 ราย โดยมากเป็นเด็ก ผู้อ้างว่าจำชาติก่อน ๆ ได้ซึ่งได้ความสนใจจากนักสื่อวิญญาณและนักปรจิตวิทยาไอลีน เจ. การ์เรตต์ (1893-1970) ผู้จัดตั้งมูลนิธิปรจิตวิทยา (Parapsychology Foundation) แล้วได้ให้ทุนแก่สตีเวนสันเพื่อเดินทางไปยังอินเดียและสัมภาษณ์เด็กคนหนึ่งที่อ้างว่าจำชาติก่อน ๆ ได้ตามผู้ดำเนินรอยตามสตีเวนสันคือแพทย์ทางกุมารจิตเวชจิม ทักเกอร์ สตีเวนสันพบกรณีอื่น ๆ อีก 25 รายภายในระยะ 4 สัปดาห์ในอินเดีย จึงสามารถพิมพ์หนังสือเล่มแรกเกี่ยวกับประเด็นนี้ในปี 1966 คือ กรณีศึกษา 20 รายที่แสดงนัยว่ากลับชาติมาเกิด[20]

ต่อมาเชสเตอร์ คาร์ลสัน (1906-1968) นักประดิษฐ์การถ่ายสำเนาและผู้ร่วมจัดตั้งบริษัทซีร็อกซ์ได้ช่วยเหลือในด้านเงินทุนอีกทักเกอร์เขียนว่า นี่ทำให้สตีเวนสันสามารถวางตำแหน่งหัวหน้าสาขาจิตเวชแล้วจัดตั้งหน่วยต่างหากในสาขาคือแผนกศึกษาบุคลิกภาพ แล้วภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็นแผนกการศึกษาการรับรู้ (Division of Perceptual Studies)[21]เมื่อคาร์ลสันเสียชีวิตในปี 1968 เขาได้มอบทุนหนึ่งล้านเหรียญสหรัฐ (เท่ากับเงินประมาณ 7.5 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2020 คือประมาณ 236 ล้านบาท) ทิ้งไว้ให้กับมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียเพื่อต่องานของสตีเวนสันมรดกนี้สร้างความโต้แย้งภายในสถาบันเพราะธรรมชาติของงานวิจัย แต่สถาบันก็ได้รับเงินไว้ และสตีเวนสันจึงได้ตำแหน่งศาสตราจารย์จิตเวชคาร์ลสัน (Carlson Professor of Psychiatry) เป็นคนแรก[22]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: เอียน สตีเวนสัน http://www.highbeam.com/doc/1G1-72763292.html http://journals.lww.com/jonmd/Citation/1977/09000/... http://journals.lww.com/jonmd/Citation/1977/09000/... http://jas.sagepub.com/content/21/3-4/204 http://www.skepdic.com/stevenson.html http://skepticreport.com/sr/?p=482 http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,1... http://www3.interscience.wiley.com/journal/1192426... http://departments.bloomu.edu/philosophy/pages/con... http://www-personal.umich.edu/~thomason/papers/xen...